ข้อมูลพื้นฐาน
เขตการปกครอง
เทศบาลเมืองพนัสนิคมมีพื้นที่รับผิดชอบ 2.76 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ 1,725 ไร่ มีชุมชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ปกครองของเทศบาลเมืองพนัสนิคม ทั้งสิ้น 12 ชุมชน
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลหน้าพระธาตุ ตำบลไร่หลักทอง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบ้านช้าง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลกุฎโง้ง
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ้านช้าง ตำบลนามะตูม
สถานที่ตั้งสำนักงาน
ด้านการศึกษา
เทศบาลเมืองพนัสนิคมมีสถานศึกษาในสังกัด จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย
- โรงเรียนเทศบาล 1 (ศรีกิตติวรรณนุสรณ์)
- โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดกลางทุมมาวาส)
- โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดเกาะแก้วนครสวรรค์)
- โรงเรียนเทศบาล 4 (เจริญอุปภัมภ์ปัญญาธร)
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองพนัสนิคม
การท่องเที่ยว/สถานที่สำคัญ
- หอพระพนัสบดี
- พระวิหารพระพุทธมิ่งเมือง
- ศูนย์จักสานใหญ่ที่สุดในโลก
- สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพนัสนิคม
- สนามกีฬาเทศบาลเมืองพนัสนิคม
- สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเทศบาลเมืองพนัสนิคม (โรงไม้ขีด)
จำนวนประชากรและครัวเรือน
มีประชากรตามทะเบียนราษฎร์ ทั้งหมด 10,075 คน
แบ่งเป็น ชาย 4,620 คน
หญิง 5,455 คน
มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 4,989 ครัวเรือน
** ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2563
ด้านศาสนา
- ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 88 ของจำนวนประชากรทั้งหมด วัดจำนวน 4 แห่ง (วัดเกาะแก้วนครสวรรค์ ,วัดกลางทุมมาวาส ,วัดพิมพฤฒาราม ,วัดพลับ)
- ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรทั้งหมด โบสถ์คริสต์ จำนวน 1 แห่ง
- ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 2 ของจำนวนประชากรทั้งหมด มัสยิด – แห่ง
ประเพณี วัฒนธรรม งานประจำปี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ประเพณีงานบุญกลางบ้านและเผยแพร่เครื่องจักรสานพนัสนิคม
- ประเพณีไหว้พระจันทร์
- ประเพณีสงกรานต์
- ประเพณีกองข้าว
- ประเพณีลอยกระทง
- งานสำคัญทางศาสนา อาทิ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา เป็นต้น
- ศิลปะการแสดงเอ็งกอ
- การทายโจ๊กปริศนา
สินค้าท้องถิ่นและของที่ระลึก
ในสมัยก่อน ชาวอำเภอพนัสนิคมส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำนา หาปู หาปลา เอามาเป็นอาหารในแต่ละวัน จนกระทั่งได้มีการนำไม้ไผ่ที่หามาในละแวกที่อยู่อาศัย นำมาตัดสานทำเป็นอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ในการจับสัตว์น้ำ เช่น ไซ ตุ้ม ลอบ รวมถึงตะแกรงเอาไว้ใช้ช้อน กุ้ง หอย ปู ปลา ตามหนองน้ำ ต่อมาได้พัฒนามาเป็นฝาชีครอบกับข้าว เพื่อป้องกันแมลงต่างๆ เข้ามาตอมอาหาร
ต่อมาได้มีการสานฝาชีให้มีลวดลายสีสันสวยงามมากขึ้น เป็นที่นิยมของคนทั่วไปและจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น จึงมีการรวมตัวของชาวบ้านเพื่อจัดตั้ง “กลุ่มจักสาน ชุมชนย่อยที่ 1” อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ.2544 ทำการผลิตผลงานและพัฒนาสินค้าเกี่ยวกับการจักสานไม้ไผ่ต่างๆ เอาไว้จำหน่ายเป็นรายได้ให้แก่สมาชิก และได้รับการคัดสรรสินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี 2549 ประเภทผลิตภัณฑ์ของใช้ของประดับตกแต่ง ของที่ระลึก ระดับ 4 ดาว และได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนได้รับการคัดสรรระดับ 5 ดาว ในปัจจุบัน